กลยุทธ์การสอนแบบ Active Learning
กลยุทธ์การสอน แบบ Active learning คุณครูควรจัดการกับเนื้อหารายวิชา โดยนำเนื้อหาวิชาที่คุณครูรับผิดชอบ มาพิจารณา ดังนี้ 1. เนื้อหารายวิชาส่วนใด ที่นักเรียนมีพื้นฐานความรู้เก่า ที่สามารถต่อยอด ไปสู่ความรู้ใหม่ “ด้วยตัวของนักเรียนเอง” คุณครูก็บอกวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้.. บอกมาตรฐานการเรียนรู้ บอกจุดเน้น..บอกตัวชี้วัดความรู้ และขั้นตอน และวิธีวัดผลความรู้ (Effect) แล้วมอบหมายให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning ได้เลย 2. เนื้อหารายวิชาส่วนใด “ที่ต้องต่อยอดด้วยการช่วยเหลือจากครู, สื่อ, และเพื่อน” คุณครูควรนำเนื้อหานั้นมา “พิจารณาสร้างกิจกรรม Active learning” โดย นำเข้าสู่บทเรียนด้วยสื่อ Clip VDO, รูปภาพ, และ PowerPoint บอกวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ มาตรฐาน จุดเน้น และตัวชี้วัด การดำเนินกิจกรรมของนักเรียน ตลอดจน “วิธีการวัดผล ประเมินผล” อย่างชัดเจน แล้วมอบหมาย “ใบงาน Worksheet” เช่น การค้นคว้า Researching งานโครงการในรายวิชาต่างๆ PBL หรือ Project or Problem Based Learning การฝึกทักษะทางภาษา ดนตรี กีฬา และอื่นๆ หรืออาจเป็นกิจกรรมเล็ก ๆ เช่น การถาม-ตอบ รายบุคคล หรือกลุ่ม ฯลฯ ตามความเหมาะสมตาม เวลา เนื้อหา และสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ ใน […]
108 ปัญหาการศึกษาไทย
เกือบ 2 ปีแล้วที่มีการระบาดของไวรัสร้าย ‘Covid-19’ ที่ทุกๆ ประเทศในโลกนี้ต้องเผชิญกับความยากลำบาก ทั้งทางด้านสุขภาพอนามัย เศรษฐกิจ ชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คน รวมทั้ง ‘การศึกษา’ ที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกแผ่นดิน จากหน้ามือไปจนถึงหลังเท้า เด็กๆ จำนวนมากทั่วโลกก็ประสบชะตากรรมเดียวกัน ไปเรียนที่โรงเรียนไม่ได้ ต้องเรียนออนไลน์ หรือเรียนผ่านช่องทางอื่นๆ ตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย ‘โควิด-19’ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง มีคนจำนวนมากมายต้องอยู่ในสภาพตกงาน ธุรกิจมากมายล้มระเนระนาด อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โรงแรม ที่พัก ร้านอาหารปิดกิจการจำนวนมาก ช่วงหลังๆ ธุรกิจการก่อสร้างก็กระทบเพราะการระบาดในไซต์งานจำนวนมาก ทำให้แรงงานจำนวนมากต้องหลั่งไหลกลับบ้านเกิด นั่นคือการเปลี่ยนแปลงที่เราพบเห็นอย่างจริงจัง กระทบมาถึงการศึกษา ที่ไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ นักเรียนนักศึกษาต้องเรียนออนไลน์ ท่ามกลางสารพัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการเรียน และได้ก่อผลกระทบอีกมากมาย ทั้งการขาดอุปกรณ์การเรียนอย่างเครื่องมือสื่อสาร เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และแม้แต่สัญญาณการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การช่วยเหลือจากภาครัฐที่กระท่อนกระแท่นไม่ทั่วถึง สำรวจซ้ำแล้วซ้ำเล่า ล่าช้า วิธีการสารพัดปัญหา 108 มาให้ครูและบุคลากรแก้ไขกันรายชั่วโมง เฮ้อ! นั่นคือมุมมองในฟากฝั่งโรงเรียนในสังกัดรัฐ พอหันไปดูโรงเรียนเอกชนบ้าง เมื่อสัก 10 ปีก่อนเราเคยเห็นกันว่า ‘โรงเรียนเอกชน’ ที่ดีมีคุณภาพจะเติบโตต่อเนื่องเป็นธุรกิจที่มีความน่าสนใจ น่าลงทุน เพราะผู้ปกครองที่มีกำลังทรัพย์เพียงพอต่างก็ต้องการให้บุตรหลานของตน ได้รับการจัดการศึกษาที่ดีกว่า จะเห็นได้ว่ามีโรงเรียนเอกชนที่ใช้หลักสูตรนานาชาติเปิดมากขึ้นทั้งในส่วนกลางและหัวเมืองใหญ่ๆ โรงเรียนเอกชน ขาดสภาพคล่อง ส่อแววปิดกิจการ […]
ปัญหาการศึกษาไทยแก้ได้ที่ต้นตอ
วันนี้ขอลอก “บันทึก” ของตัวเองที่เขียนไว้ในเฟซบุ๊คส่วนตัวมานำเสนอ และเพิ่มเติมความคิดเข้าไปอีกบางส่วนนะครับ เพื่อให้ทุกท่านได้พิจารณาแก้ปัญหาช่วยกัน ตอนนี้คงจะไม่มีใครปฏิเสธถึงความล้มเหลว ในการจัดการศึกษาไทยได้แล้วว่า “ต้นตอมาจากครู” อย่าเพิ่งเริ่มต้นด่าผมซิครับ ถ้ายังอ่านไม่จบ ลองอ่านและพิจารณากันดูนะครับ ไม่ตรง ๑๐๐% ก็ใกล้เคียงล่ะ ไม่น่าจะต่ำกว่าร้อยละ ๙๐ ด้วย “ครู” นิยามนี้เหมารวมหมด ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงในกระทรวง ไล่เรียงลงมาจนถึงครูน้อย ครูอัตราจ้าง ครูที่ถูกจ้างสอนเลยทีเดียว ในอดีตการก้าวเข้าสู่อาชีพ “ครู” นั้นคือ การคัดเลือกเอาหัวกระทิ คนเก่ง คนดี ไปร่ำเรียนในโรงเรียนฝึกหัดครูซึ่งมีอยู่ไม่กี่แห่งในประเทศ คั้นจนได้หัวกระทิ แล้วส่งออกไปทำงานในถิ่นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เมื่อต้องการเพิ่มเติมความรู้ให้ครู ก็มีสถาบันในระดับอุดมศึกษาให้เข้าไปร่ำเรียนศึกษาต่อ เช่น วิทยาลัยวิชาการศึกษา หรือที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้ปริญญา (พร้อมภูมิรู้) มาจัดการศึกษาให้จำเริญรุ่งเรือง ต่อมาเมื่อมีสหวิทยาการหลากหลายมากขึ้น คนเก่งหลายๆ คนก็เลือกที่จะศึกษาต่อในแขนงวิชาอื่นที่ไม่ใช่ “อาชีพครู” ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ วิศวกร สถาปนิก และอื่นๆ สถาบันการผลิตครูที่เกิดเพิ่มเติมมากขึ้น จากโรงเรียนฝึกหัดครู เป็นวิทยาลัยครูที่ยังผลิตครูออกมาอีกมาก สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรครูก็มีหลายแห่งขึ้น ทั้งคณะศีกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ ในทุกภาคส่วนของประเทศมีนโยบายผลิตครูมากขึ้นจนล้นเกินความต้องการ มีบัณฑิตครูมากมายหลายสาขาจากหลายสถาบันตกงาน ล้นตลาด ความนิยมในการเรียนวิชาชีพครูมีน้อยลง และแล้วความเปลี่ยน แปลงก็เริ่มมีมากขึ้นจนผิดทิศผิดทาง สถาบันผลิตครูเริ่มเปลี่ยนอุดมการณ์ พร้อมเปลี่ยนชื่อสถาบัน และเปิดสอนวิชาด้านอื่นๆ มากขึ้นและมีการโฟกัสจุดมุ่งหมายของสถาบันไปตามอัตตาของผู้บริหาร เปิดสาขาอะไรก็ได้ที่ทำให้มีคนเรียน(ได้ปริญญา) […]
Presentation of non-response
การนำเสนอ ช่วยหรือฉุด สัปดาห์นี้ ขออนุญาตมาเล่าให้ฟังถึงเรื่องเล็กๆ ที่สำคัญ แต่เรามักจะมองข้ามกันนะครับ นั่นคือเรื่องของ การนำเสนอ หรือ Presentation โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานนำเสนอที่ต้องอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น Powerpoint, Keynote หรือโปรแกรมใดก็ตาม ถ้าท่านผู้อ่านสังเกตดีๆ จะพบว่าในชีวิตการทำงานของเรานั้น จะต้องพึ่งพาอาศัยเจ้าโปรแกรม Powerpoint หรือโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนองานกันค่อนข้างมากเลยนะครับ และถ้าสังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่า เรานับวันมีแต่จะพึ่งพาโปรแกรมในการนำเสนอเหล่านี้มากขึ้นทุกขณะ ทีนี้ ปัญหาในจุดเล็กๆ ที่เรามักจะมองข้ามกันก็คือ โปรแกรมนำเสนอเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทุกคน ในเวลาเสนองาน บรรยาย หรือสอนหนังสือ แต่ลองสังเกตดูหน่อยนะครับว่า การที่ท่านใช้โปรแกรมเหล่านี้ได้ช่วยทำให้ท่านนำเสนอได้ดีขึ้นหรือไม่? ทำให้ผู้รับฟังเข้าใจมากขึ้น หรือว่าเป็นไปในทางกลับกัน ผมเชื่อว่าความผิดพลาดเหล่านี้ ไม่ได้อยู่ที่ตัวโปรแกรมหรอกครับ แต่อยู่ที่วิธีการคิด การออกแบบ และเทคนิคการใช้โปรแกรมเหล่านี้ของพวกเรามากกว่า หลายๆ ท่าน ชอบใส่คำบรรยายเยอะๆ จนลานตาลงไปในโปรแกรมเหล่านี้ แล้วเวลาขึ้นไปนำเสนอก็อาจจะขึ้นไปยืนอ่านตามคำบรรยายที่เขียนไว้ในจอ หรือพูดในประเด็นอื่นๆ ไป ถ้าท่านทำไปในลักษณะดังกล่าว ก็ต้องเรียนว่า ท่านกำลังทำร้ายทั้งตัวท่านเองและผู้ฟังของท่านนะครับ เนื่องจากการขึ้นไปยืนอ่านสิ่งที่ท่านใส่ไปใน Powerpoint ของท่าน คำถามที่จะอยู่ในใจของผู้ฟังก็คือ แล้วตัวท่านเองมีประโยชน์อะไร? (ที่มายืนโด่เด่ตรงนี้) เนื่องจากท่านเพียงแค่ฉาย Powerpoint ของท่านขึ้นไป แล้วบอกให้ผู้ที่จะฟังท่านได้อ่านไปในใจก็มีค่าเท่ากัน (นั่นแล) หรือถ้าท่านเขียนบรรยายยืดยาว เยอะแยะ ลงไปในการนำเสนอบนจอ และในขณะเดียวกัน ตัวท่านก็เล่าหรือพูดให้ฟังเรื่องอื่นๆ ไปด้วย ท่านผู้อ่านก็ลองคิดดูนะครับว่า […]
10 Technical Presentations
จากการที่ได้นำบทความเรื่อง การนำเสนอ ช่วยหรือฉุด มาให้อ่านกัน หลายท่านก็สอบถามกันมาว่า “รู้แล้วว่ามันไม่ดี แต่ถ้าจะทำให้ดีๆ ทำอย่างไร?” คราวนี้ก็เลยขอนำ 10 สุดยอดเทคนิคการนำเสนอ ที่น่าจะเป็นหนทางช่วยเหลือให้ทุกท่านได้สร้างงานนำ เสนอต่อที่ประชุม สัมมนา อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผู้ฟังติดตา ตรึงใจ ประทับใจไปอีกนาน ไม่ใช่ขึ้นไปบนเวทีเพื่อให้ถูกเชือด (เฉือนในใจ) ผู้ฟังเงียบสนิท (เพราะหลับกันถ้วนหน้า) มีวิธีการอย่างไร…? ขอเสนอด้วยปัญหาที่พบเห็นกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นในงานประชุม สัมมนา ในระดับโรงเรียน หรือระดับชาติ และเสริมเพิ่มด้วยเทคนิคที่ควรจะนำไปแก้ไขให้เกิดประโยชน์ ลองติดตามดูว่า คุณเคยสัมผัสประสบการณ์เหล่านี้ ตอนที่นั่งดูการนำเสนองานหรือไม่? เริ่มจากข้อผิดพลาดเบาๆ ไปสู่ข้อผิดพลาดที่ทำให้หน้าแตกกันมากที่สุดกันเลย… 10) เลือกใช้สีสันฉูดฉาดแบบลูกกวาด คุณผู้สร้างงานนำเสนอคงชอบแบบนี้แน่ (ถึงได้ทำออกมาไง?) แต่ไม่ใช่ในมุมมองของผู้ชมที่นั่งอยู่ตรงหน้า ควรหลีกเลี่ยงการจับคู่สีที่แปลกประหลาด อย่างเช่น จับคู่สีส้มกับสีฟ้า สีเขียวกับสีแดง เอาง่ายๆ สีตรงข้ามในวงล้อของสีที่เราเรียนศิลปะนั่นแหละ เคล็ดลับข้อที่ 10 ความเข้มสีที่เหมาะสมกับพื้นหลังเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้อ่านข้อความของคุณได้ง่าย ข้อความสีเข้มบนพื้นสีอ่อน เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เลือกใช้สีโทนสีเบจหรือสีพื้นหลังแบบอ่อน ซึ่งช่วยให้สายตารับภาพได้ดีกว่าการใช้สีขาวล้วน การใช้พื้นหลังสีเข้มก็เหมาะกับการใช้สีตัวอักษรที่อ่อนเช่นกัน การเลือกใช้พื้นหลังแบบมีลวดลายทำให้อ่านข้อความได้ยาก เลือกโทนสีให้สอดคล้องกัน 9) ซูม ซูม – ใส่แอนิเมชั่นสุดหวือหวา คุณอาจมองว่า การเลือกใช้ภาพแอนิเมชั่นและเอฟเฟคเลียงนี่มันสุดเจ๋งจริงๆ และคุณก็ใช้ในงานนำเสนอของคุณมากกว่า 85% โดยหวังว่าจะประทับใจผู้ชมงานด้วยความสามารถพิเศษแบบนี้ […]
รวมข้อมูล คณะสาธารณสุขศาสตร์ ครบสุด!!
คำถามเจอบ่อยเด็กอยากติดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ถาม : คณะสาธารณสุขศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร? ตอบ : คณะสาธารณสุขศาสตร์จะเรียนเกี่ยวกับการดูแลและจัดการสุขภาพทั้งหมดของชุมชน ตามการวิเคราะห์ด้านสุขภาพของประชากร เพื่อการมีสภาพชีวิตทั้งทางกายภาพ จิตใจและทางสังคมที่สมบูรณ์ แข็งแรง โดยจะศึกษา ค้นคว้า วิจัย การบริการด้านสาธารณสุข และศึกษาทางด้านการป้องกันโรค การควบคุมโรค และการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนทั่วไป _________________________________________________________________________________________________________________ ถาม : คณะสาธารณสุขศาสตร์เรียนยากไหม? ตอบ : เรียนยากหรือไม่ยากขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคลว่าจะขยันมากแค่ไหน จะเก็บความรู้ได้มากไหม สำหรับบางคนก็มองว่าไม่ยากแต่คณะนี้จะเน้นหนักไปทางชีวะ _________________________________________________________________________________________________________________ ถาม : เรียนคณะสาธารณสุขศาสตร์วิชาไหนสำคัญและจำเป็นต้องใช้มากที่สุด? ตอบ : ไม่มีวิชาไหนสำคัญมากที่สุดแต่ทุก ๆ วิชาที่เรียนสำคัญและต้องใช้หมดไม่ว่าจะเป็น ฟิสิกส์ เคมี หรือวิชาอื่น ๆ ดังนั้นเราต้องให้ความสำคัญในทุก ๆ วิชา _____________________________________________________________________________________________ ถาม : กลัวเรียนคณะสาธารณสุขจบแล้วจะไม่มีงานทำ เพราะมีคนบอกมาว่าหางานยาก? ตอบ : อาชีพสำหรับผู้ที่จบคณะนี้ สามารถปฏิบัติได้หลากหลาย เช่น ทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น เป็นนักวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อม […]
รวมข้อมูล คณะเทคนิคการแพทย์ ครบสุด!!
คำถามเจอบ่อยเด็กอยากติดคณะเทคนิคการแพทย์ ถาม : เทคนิคการแพทย์เรียนเกี่ยวกับอะไร? ตอบ : เทคนิคการแพทย์ก็จะเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพทั่วไป แต่จะไม่ลึกเท่าหมอ จะเน้นหนักไปที่พวกโลหิตวิทยา ธนาคารเลือด แบคทีเรีย ไวรัส เคมีคลินิก และภูมิคุ้มกันมากกว่า ________________________________________________________________________________________________________________ ถาม : อาชีพนักเทคนิคการแพทย์คืออะไร ทำอะไร ? ตอบ : นักเทคนิคการแพทย์ก็คือคนที่คอยส่งตรวจต่าง ๆ ของคนไข้ ไม่ว่าจะเป็น เลือด เสมหะ ปัสสาวะ สารคัดหลั่งต่าง ๆ และก็อีกหลาย ๆ อย่าง รวมไปถึงการเจาะเลือดคนไข้ และการรับบริจาคโลหิตด้วย การทำงานจะทำงานในโรงพยาบาล และทำงานกันอยู่ในห้องแล็บและก็ห้องเจาะเลือด ________________________________________________________________________________________________________________ ถาม : นอกจากเป็นนักเทคนิคการแพทย์แล้วคณะเทคนิคการแพทย์จบไปทำอาชีพอะไรได้บ้าง ? ตอบ : เทคนิคการแพทย์จบมาแล้วก็สามารถไปต่อได้หลาย ๆ สายนอกจากการเป็นนักเทคนิคการแพทย์ในห้องแล็บของโรงพยาบาลแล้ว เรียนต่อหมอก็สามารถต่อได้หรือถ้าชื่นชอบสายธุรกิจก็สามารถมาเป็นเซลล์ขายเครื่องมือแพทย์ หรือการตรวจแล็บของพวกห้องแล็บเอกชนก็ได้ ________________________________________________________________________________________________________________ ถาม : การเรียนเทคนิคการแพทย์ต้องมีทักษะอะไร ? […]